ใจความสำคัญ : เป็นบทสวดที่ท้าวเวสสุวัณแต่งขึ้นทูลถวายพระพุทธเจ้า เพื่อประทานให้เหล่าภิกษุสวดคุ้มครองตนจากยักษ์ ภูตผีปีศาจ และเหล่าอมนุษย์ทั้งหลาย ปัจจุบันนิยมนำมาสวดขับไล่เสนียดจัญไรและอำนาจคุณไสย โดยจัดเป็นพิธีกรรมใหญ่โต เรียกว่า “สวดภาณยักษ์”
อานุภาพ : ป้องกันภัยจากภูตผีปีศาจ ยักษ์ และวิญญาณร้าย ตลอดถึงคุณไสยต่างๆ
ประวัติ : สมัยหนึ่ง ท้าวจตุโลกบาททั้ง ๔ ซึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พากันดำริว่า เหล่าอมนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ภายใต้การปกครอง มีทั้งดีและไม่ดี พวกที่ไม่ดีไม่มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอาจจะเบียดเบียนทำร้ายพระภิกษุที่ปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมในป่าเขาได้ จึงพากันไปที่อาฏานาฏิยนคร ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา แต่งบทสวดเพื่อใช้เป็นมนต์คุ้มภัยจากเหล่าอมนุษย์แล้วนำมาทูลเกล้าถวายพระพุทธเจ้าเพื่อประทานแก่ภิกษุต่อไป
บทสวดมนต์
อาฏานาฏิยปริตร
บทสวดมนต์ป้องกันภูติผีปีสาจ ยักษ์ วิญญาณร้าย คุณไสยต่างๆ
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ
จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ
สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
น๎หาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ
มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ
พ๎ราห๎มะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ
วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ
สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ
สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตา โลเก
ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา
มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง
ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง
มะหันตัง วีตะสาระทัง.
(วิชชาจะระณะสัมปันนัง
พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ)
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เม* ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เม* ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เม* ชะยะมังคะลัง.
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ
ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เม*
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ
ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เม*
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ
ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เม.*
สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง
พุทธะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เม*
สักกัต๎วา ธัมมะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ภะยา วูปะสะเมนตุ เม*
สักกัต๎วา สังฆะระตะนัง
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง
สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
โรคา วูปะสะเมนตุ เม.*
สัพพีติโย วิวัชชันตุ
สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัต๎วันตะราโย
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ
นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ
อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
*ถ้าสวดให้ผู้อื่นเปลี่ยนจาก เม (แก่ข้าพเจ้า) เป็น เต (แก่ท่าน)
คำแปล อาฏานาฏิยปริตร
ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงพระจักษุทรงพระสิริ ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้ ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง ขอนอบน้อมพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพรรณรังสี ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง อนึ่ง พระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้วรู้แจ้งตามความเป็นจริง พระอรหันต์เหล่านั้นปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน ท่านเหล่านั้นย่อมนมัสการพระโคตมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ไม่สะทกสะท้าน
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่านเทอญ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่านเทอญ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่านเทอญ
รัตนะหลายหลากมากชนิด มีอยู่ในในโลก แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระพุทธรัตนะย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
รัตนะหลายหลากมากชนิด มีอยู่ในในโลก แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมรัตนะย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
รัตนะหลายหลากมากชนิด มีอยู่ในในโลก แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระสังฆรัตนะย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน
เพราะกระทำความเคารพ ซึ่งพุทธรัตนะ อันเป็นดังโอสถอันประเสริฐสุด ผู้เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า ขออุปัทวะทั้งหลายทั้งปวง จงพินาศไป ขอทุกข์ทั้งหลายของท่าน จงสงบไป โดยสวัสดี
เพราะกระทำความเคารพ ซึ่งธรรมรัตนะ อันเป็นดังโอสถอันประเสริฐสุด ดับความเร่าร้อนเพราะกิเลสเสียได้ ด้วยเดชแห่งพระธรรม ขออุปัทวะทั้งหลายทั้งปวง จงพินาศไป ขอภัยทั้งหลายของท่าน จงสงบไป โดยสวัสดี
เพราะกระทำความเคารพ ซึ่งสังฆรัตนะ อันเป็นดังโอสถอันประเสริฐสุด เป็นผู้ควรแก่ของบูชา และควรแก่การต้อนรับ ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์ ขออุปัทวะทั้งหลายทั้งปวง จงพินาศไป
ขอโรคทั้งหลายของท่าน จงสงบไป โดยสวัสดี ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป โรคทั้งปวงของท่าน จงหาย อันตราย อย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญ แก่บุคคล ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์.
ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๐ ข้อที่ ๒๐๙ (เฉพาะวรรคแรก วิปัสสิสสะ ฯลฯ วันทามะ โคตะมันติ ที่เหลือแต่งขึ้นโดยอาจารย์รุ่นหลัง)
ประยุกต์ใช้ : ใช้ภาวนาเป็นมนต์ปกป้องอาณาเขต โดยใช้ไม้ขีดเป็นวงกลมรอบที่พัก พร้อมกับสวดพระปริตร (เฉพาะวรรคแรก) ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะขีดบรรจบกัน ท่านว่ามีอานุภาพป้องกันวิญญาณร้ายไม่ให้เข้ามารบกวน ขณะสวดให้น้อมจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ มีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น แล้วแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์และวิญญาณทั้งหลาย
รวบรวมเรียบเรียงโดย
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์
น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย)
บรรณาธิการแห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์