หลักการตรัสของพระพุทธเจ้า

หลักการตรัสของพระพุทธเจ้า

แม้เป็นความจริง หากไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ควรกล่าว เรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับอภัยราชการใน อภัยราชกุมารสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เนื้อความมีดังนี้

 1 “ราชกุมาร ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน รู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

2   อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

3  ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็น ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น

4  ตถาคตรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

5   ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

6  อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย”

เนื้อความพระบาลี

เอวเมว โข ราชกุมาร ยํ ตถาคโต วาจํ ชานาติ อภูตํ อตจฺฉํ อนตฺถสญฺหิตํ สา จ ปเรสํ อปฺปิยา อมนาปา น ตํ ตถาคโต วาจํ ภาสติ ยมฺปิ ตถาคโต วาจํ ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อนตฺถสญฺหิตํ สา จ ปเรสํ อปฺปิยา อมนาปา ตมฺปิ ตถาคโต วาจํ น ภาสติ ยญฺจ โข ตถาคโต วาจํ ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อตฺถสญฺหิตํ สา จ ปเรสํ อปฺปิยา อมนาปา ตตฺร กาลญฺญู ตถาคโต โหติ ตสฺสา วาจาย เวยฺยากรณาย ยํ ตถาคโต วาจํ ชานาติ อภูตํ อตจฺฉํ อนตฺถสญฺหิตํ สา จ ปเรสํ ปิยา มนาปา ตํ ตถาคโต วาจํ น ภาสติ ยมฺปิ ตถาคโต วาจํ ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อนตฺถสญฺหิตํ สา จ ปเรสํ ปิยา มนาปา ตมฺปิ ตถาคโต วาจํ น ภาสติ ยญฺจ โข ตถาคโต วาจํ ชานาติ ภูตํ ตจฺฉํ อตฺถสญฺหิตํ สา จ ปเรสํ ปิยา มนาปา ตตฺร กาลญฺญู ตถาคโต โหติ ตสฺสา วาจาย พฺยากรณาย ตํ กิสฺส เหตุ อตฺถิ หิ ราชกุมาร ตถาคตสฺส สตฺเตสุ อนุกมฺปาติ ฯ

SHOPPING CART

close