ประวัติ ความสำคัญและความเป็นมา
วันอาสาฬบูชา พวกเราชาวพุทธต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นครั้งแรก เทศนากัณฑ์นี้ชื่อว่า ธัมมจักกัปวัตตนสูตร หลังแสดงธรรมจบโกณฑัญญะพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรม และขอบวช พระพุทธเจ้าทรงอุปสมบทให้ ทำให้มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก และการเกิดขึ้นของพระสงฆ์ในวันนั้นทำให้พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบ ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นครั้งแรก
ในอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจคือวันนี้เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ หลายคนอาจเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์แล้วในวันที่ทรงตรัสรู้ ความเป็นยังไม่ใช่เพราะการจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ พระองค์ต้องทรงทำหน้าที่ในฐานะของพระพุทธเจ้าก่อน
คำว่า พุทธะ ในพระพุทธศาสนานั้น
ท่านแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า หมายถึง พระพุทธเจ้าที่รู้แจ้งธรรมเฉพาะตนเอง ไม่สามารถสอนให้ผูอื่นให้รู้ตาม
๒. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ที่ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งตามได้
๓. พระอนุพุทธะ หมายถึง ผู้ที่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วตรัสรู้ตาม ได้แก่พระอรหันตสาวก
จะเห็นว่าข้อแตกต่างของระหว่างพระปัจเจกพุทธเจ้า กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็ไม่ต้องสอนผู้อื่น ส่วนพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วต้องสอนให้คนอื่นให้รู้ตาม ดังนั้น การแสดงพระธรรมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และโกณฑัญญะพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น ถือว่า พระพุทธเจ้าทรงทำหน้าที่ของความเป็นพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์
จึงกล่าวสรุปได้ว่า วันอาสาฬหบูชา มีความสำคัญ คือ
๑. เป็นที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก และถือเป็นวันประกาศศาสนาครั้งแรกด้วย
๒. เป็นวันที่พระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะขอบวชตาม
๓. เป็นที่พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
๔. เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้าคือการแสดงทำให้ผู้อื่นได้ตรัสรู้ตามเป็นครั้งแรก
ขอให้เราท่านทั้งหลาย พึงรำลึกไว้ว่า พวกเรามีความโชคดีเป็นอันมาก และถือว่าได้ลาภอันประเสริฐที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้พบพระพุทธศาสนาแลมีที่หลักธรรมคำสอนที่ครบถ้วนบริบูรณ์ และยังมีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้กราบไว้ เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ
หากจะเทียบกับพระเวสสันดรที่ทรงให้ทานมากมาย แต่พระเวสสันดรก็หาได้ทำบุญกับพระภิกษุที่มีศีลเหมือนกับพวกเราไม่ ดังนั้น จึงขอให้ท่านทั้งหลายได้ถือเอาโอกาสที่ได้ลาภอันประเสริฐนี้ ทำความดีนำพาตนให้ถึงเป้าหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือความพ้นทุกข์ ด้วยกันทุกคนทุกท่านเถิด
เวียนเทียนออนไลน์
กล่าวคำถวายธูปเทียนดอกไม้
ถือดอกไม้ธูปเทียน แล้วกล่าวคำถวายดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา โย โน ภะคะวา สัตถา ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ อะโหสิ โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สัตเตสุ การุญญัง ปะฏิจจะ กะรุณายะโก หิเตสี อะนุกัมปัง อุปาทายะ อาสาฬหะปุณณะมิยัง พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง ปะวัตเตตวา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาเสสิ ฯ
ตัสมิญจะ โข สะมะเย ปัญจะวัคคยานัง ภิกขูนัง ปะมุโข อายัสมา อัญญาโกณฑัญโญ ภะคะวะโต ธัมมัง สุตวา วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง ปะฏิละภิตวา ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ภะคะวันตัง อุปะสัมปะทัง ยาจิตวา ภะคะวะโต เยวะ สันติกา เอหิภิกขุ อุปะสัมปะทัง ปะฏิละภิตวา ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย อะริยะสาวะกะสังโฆ โลเก อุปปันโน อะโหสิ ฯ ตัสมิญจะ โข สะมะเย สังฆะรัตตะนัง โลเก ปะฐะมัง อุปปันโน อะโหสิ พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนันติ ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ
มะยัง โข เอตะระหิ อิมัง อาสาฬหะปุณณะมีกาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะกาละสัมมะตัง อะริยะสาวะกะสังฆะอุปปัตติกาละสัมมะตัญจะ ระตะนัตตะยะสัมปุณณะกาละสัมมะตัญจะ ปัตวา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา อิเม สักกาเร คะเหตวา อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา อิมัง ถูปัง (อิมัง พุทธะปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสสามะ ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ฯ
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดแล้ว ว่าเป็นที่พึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย อนึ่ง เราทั้งหลายชอบใจซึ่งพระธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ทรงอาศัยความการุณในสัตว์ทั้งหลาย ทรงพระกรุณาแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความเอ็นดู ได้ยังพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป ทรงประกาศอริยสัจ ๔ เป็นครั้งแรกแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสีในวันอาสาฬหปุณณมี
อนึ่ง ในสมัยนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีความดับเป็นธรรมดา” จึงทูลขออุปสมบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์แรกในโลก
อนึ่ง ในสมัยแม้นั้นแล พระสังฆรัตนะได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ได้สมบูรณ์แล้วในโลก
บัดนี้ เราทั้งหลายแล มาประจวบมงคลสมัยอาสาฬหปุณณมี วันเพ็ญอาสาฬหมาสที่รู้พร้อมกันว่า เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงประกาศพระธรรมจักรเป็นวันที่เกิดขึ้นแห่งพระอริยสงฆ์สาวก และเป็นวันที่พระรัตนตรัยสมบูรณ์ คือ ครบ ๓ รัตนะ จึงมาประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ถือสักการะเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดังภาชนะรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณตามเป็นจริงทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักทำประทักษิณสิ้นวาระสามรอบซึ่งพระสถูป (พระพุทธปฏิมา) นี้ บูชาอยู่ด้วยสักการะอันถือไว้แล้วอย่างไร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานนานมาแล้ว ยังปรากฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับเครื่องสักการะ อันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.
เวียนเทียนรอบที่ 1
อธิษฐานจิตบูชาพระรัตนตรัย เสมือนอยู่ต่อหน้าพระธาตุเจดีย์
สวดสรรเสริญพุทธคุณ ดังนี้
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกวิทู
อะนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
(๓ จบ)
เวียนเทียนรอบที่ 2
สวดสรรเสริญธรรมคุณ ดังนี้
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
(๓ จบ)
เวียนเทียนรอบที่ 3
สวดสรรเสริญสังฆคุณ ดังนี้
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะปุคคะลา เอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
(๓ จบ)
หลังจากนั้นสวดแผ่เมตตา
คำแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์
เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด
อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้พยาบาท
เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขๆ เถิด
อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกาย สุขใจ
รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
กราบลาพระ เป็นอันเสร็จพิธี