บทสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ
เทวานัง ปิยะตัง สุต๎วา
อิติปิ โส ภะคะวา
ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มะระณัง สุขัง อะระหัง
สุคะโต นะโม พุทธายะ.
๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา
เชต๎วา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง
เย ปิวิงสุ นะราสะภา
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง
มัตถะเก เต มุนิสสะรา
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง
อุเร สัพพะคุณากะโร
๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง
โมคคัลลาโน จะ วามะเก
๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
อาสุง อานันทะราหุลา๒
กัสสะโป จะ มะหานาโม
อุภาสุง วามะโสตะเก
๖. เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง
สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน
โสภิโต มุนิ ปุงคะโว
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร
มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ
อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา
นะลาเฏ ติละกา มะมะ
๙. เสสาสีติ มะหาเถรา
วิชิตา ชินะสาวะกา
เอตาสีติ มะหาเถรา
ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ
อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ
ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ
วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ
อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ
เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๒. ชินาณา วะระสังยุตตา
สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา
พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ
อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ
เต มะหาปุริสาสะภา
๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.
คำแปลคาถาชินบัญชร
(บทนำ)
ผู้ปรารถนาบุตร พึงได้บุตร ผู้ปรารถนาทรัพย์ พึงได้ทรัพย์ บัณฑิตได้ฟังมาว่า ความเป็น
ที่รักที่ชอบใจของเหล่าเทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในกาย (เรา) เพราะรู้ได้ด้วยกาย.
คาถาชินบัญชร
๑. พระพุทธเจ้าผู้องอาจในหมู่ชน ประทับ ณ ชัยอาสน์บัลลังก์ ทรงชนะพญามาร
ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนามารแล้ว เสวยอมตรส คืออริยสัจ ๔ ประการ อันทำให้ผู้รู้แจ้งข้ามพ้น
จากทุกข์ทั้งปวงเป็นผู้องอาจได้.
๒. พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ มีพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกร เป็นต้น ขออัญเชิญ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนีทุกพระองค์ มาประดิษฐาน ณ กลางกระหม่อมของข้าพเจ้า.
๓. ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า ประดิษฐานบนศีรษะ พระธรรม อยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์ ผู้เป็นบ่อเกิดความดีทุกอย่าง อยู่ที่อกของข้าพเจ้า.
๔. ขอพระอนุรุทธะอยู่ที่หัวใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระมหาโมคคัลลานะ
อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลังของข้าพเจ้า.
๕. ขอพระอานนท์ กับ พระราหุลอยู่หูขวา พระมหากัสสปะ กับ พระมหานามะอยู่ที่
หูซ้ายของข้าพเจ้า.
๖. พระมุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสิริอันเรืองรอง
ดังพระอาทิตย์ทอแสง อยู่ที่เส้นผมตลอดทุกเส้น ทั้งข้างหน้าและข้างหลังของข้าพเจ้า.
๗. ขอพระกุมารกัสสปเถระ ผู้แสวงบุญที่ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นบ่อเกิดคุณความดี มีวาทะ
ไพเราะนุ่มนวลชวนฟัง ประดิษฐานเป็นประจำที่ปากของข้าพเจ้า.
๘. พระเถระทั้ง ๕ องค์ คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี จงปรากฏเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผากของข้าพเจ้า.
๙. พระมหาเถระที่เหลือจากที่เอ่ยนามมาแล้ว ผู้ชนะแล้วผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงชัย พระมหาเถระทั้งหลาย ๘๐ เหล่านั้น นับเป็นผู้มีชัย และเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงชัย เป็นผู้รุ่งเรืองอยู่ด้วยเดชแห่งศีล ขอจงประดิษฐานที่อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย.
๑๐. พระรตนสูตร อยู่เบื้องหน้า พระเมตตสูตร อยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตร
อยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตร อยู่เบื้องหลัง.
๑๑. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร ขอให้มาเป็นเครื่องกางกั้น
ดุจหลังคาบนอากาศ ขอพระสูตรที่เหลือมาตั้งเป็นดุจกำแพงป้องกัน.
๑๒. ขอพระอาณา คืออำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย อันประกอบด้วยพระคุณ
อันประเสริฐ มาประดับเป็นกำแพง ๗ ชั้น คุ้มครองข้าพเจ้าจากอันตรายภายนอก มีโรคที่เกิด
จากลม เป็นต้น และอันตรายภายใน มีโรคที่เกิดจากดีกำเริบ เป็นต้น.
๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย มีพระคุณต่อสรรพสัตว์อย่างไม่มีที่
สิ้นสุด ขออันตรายที่เหลือจงพินาศไป อนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในพระบัญชรแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้ว ไม่ว่าจะทำกิจใดๆ ขอให้สำเร็จทุกเมื่อเถิด.
๑๔. ขอให้พระมหาบุรุษผู้องอาจทั้งปวงนั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้า ผู้อยู่ ณ ภาคพื้นใน
ท่ามกลางแห่งพระชินบัญชรตลอดไป.
๑๕. ข้าพเจ้าได้รับการคุ้มครองรักษาไว้ในภายใน (ชินบัญชร) ดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย ขอให้ข้าพเจ้าชนะอุปสรรคอันตรายได้ ด้วยอานุภาพ
แห่งพระธรรม ขอให้ข้าพเจ้าชนะข้าศึกศัตรูได้ ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอให้ข้าพเจ้าชนะ
อันตรายทั้งปวงได้ ข้าพเจ้าผู้ได้รับการอภิบาลรักษาแล้วจากพระสัทธรรม จะดำเนินชีวิตไปใน
พระบัญชรของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย ดังนี้แล.
ใจความสำคัญ : บทสวดอัญเชิญพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ พระธรรม และพระอรหันตสาวกผู้เลิศคุณ มาสถิตที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอัญเชิญพระปริตร มาเป็นกำแพงป้องกันภัย
อานุภาพ : คุ้มครองป้องกันภัยทั้งภายในภายนอก มีอานุภาพ ๑๐๘ ประการ
ประวัติ : มีผู้ค้นพบหลักฐานเป็นคัมภีร์ใบลานจารด้วยอักษรล้านนาโดยพระชัยมังคละ พระเถระชาวเมืองหริภุญชัย ซึ่งเขียนบันทึกการเดินทางไปกราบนมัสการพระเขี้ยวแก้วที่ประเทศลังกา ปี พ.ศ. ๑๙๘๑ ความตอนหนึ่งว่า “มีครูบาชาวลังการูปหนึ่ง ได้มอบใบลานจารึก คาถาชัยบัญชร จำนวน ๑๔ บท พร้อมด้วยประวัติการแต่งให้” สอดคล้องกับคำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทูลแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “คาถาชินบัญชรนี้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้”
ที่มา : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปรับแก้จากสำนวนเก่าที่ได้จากลังกา
ประยุกต์ใช้ : ผู้ที่สวดพระคาถาชินบัญชรจบแล้ว พึงระลึกไว้เสมอว่า ตนได้อาราธนาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอรหันตสาวกมาสถิตในกายในใจตนแล้ว จะทำสิ่งใดก็ให้ระลึกถึงพระที่ตนอาราธนามา เช่น อัญเชิญพระพุทธเจ้าสถิตที่กระหม่อม จะคิดสิ่งใดก็จงคิดในสิ่งที่ดีงาม คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่น อัญเชิญพระธรรมสถิตที่ดวงตา มองสิ่งใด จะทำอะไรก็ให้ใช้พระธรรมเป็นเครื่องนำทาง มองด้วยใจเป็นธรรม อัญเชิญพระกุมารกัสสปะมาไว้ที่ปาก ครั้นจะพูดเจรจาสิ่งใดก็ให้เกรงใจท่าน ให้พูดแต่คำจริง คำไพเราะ และเป็นประโยชน์ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ปริศนาธรรมจากคาถาชินบัญชร โดย พระอาจารย์ประนอม ธัมมาลังกาโร วัดจากแดง, สวด ๑ ได้ ๑๐๐ โดย ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์ ทั้ง ๒ เล่มจัดพิมพ์โดย บริษัทสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด
รวบรวมเรียบเรียงโดย
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์
น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย)
บรรณาธิการแห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์