ใจความสำคัญ : เป็นบทพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๓ ของการประกาศศาสนาทรงแสดงแก่ภิกษุชฎิล ๑,๐๐๓ รูป เนื้อหาว่าด้วยไฟที่เผาใจให้เร่าร้อน เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งเหล่านั้น
ประวัติ : ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นนักบวชในลัทธิบูชาไฟ มีบริวารมากถึง ๑,๐๐๐ คน และเป็นที่นับถือของประชาชนแคว้นมคธ ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในยุคนั้น พระพุทธเจ้าทรงพระประสงค์จะประกาศศาสนาให้ตั้งมั่นในแคว้นนี้ จึงเสด็จไปโปรดเหล่าชฎิลให้หันมานับถือก่อน เพราะหากทำให้เหล่าชฎิลเลื่อมใสได้แล้ว การประกาศศาสนาในแคว้นมคธก็จะเป็นเรื่องง่าย พระพุทธองค์ทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ มากมายกว่าจะทำให้ชฎิลยอมหันมาเคารพนับถือและออกบวชตาม เมื่อชฎิลทั้งหมดบวชเป็นภิกษุแล้วได้ทรงแสดงธรรมชื่อ อาทิตตปริยายสูตร โปรด เมื่อจบพระธรรมเทศนา ภิกษุชฎิล ๑,๐๐๓ รูปได้บรรลุพระอรหันต์
บทสวดมนต์
อาทิตตปริยายสูตร
เอวัมเม สุตัง.
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
คะยายัง วิหะระติ
คะยาสีเส สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ.
ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ.
สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง.
กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง.
จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง.
รูปา อาทิตตา.
จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง.
จักขุสัมผัสโส อาทิตโต.
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัมปิ อาทิตตัง. เกนะ อาทิตตัง.
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง
ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ
ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ.
โสตัง อาทิตตัง.
สัททา อาทิตตา.
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง.
โสตะสัมผัสโส อาทิตโต.
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัมปิ อาทิตตัง. เกนะ อาทิตตัง.
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง
ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ
ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ.
ฆานัง อาทิตตัง.
คันธา อาทิตตา.
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง.
ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัมปิ อาทิตตัง. เกนะ อาทิตตัง.
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง
ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ
ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ.
ชิวหา อาทิตตา.
ระสา อาทิตตา.
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง.
ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต.
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัมปิ อาทิตตัง. เกนะ อาทิตตัง.
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา
ชะรามะระเณนะ โสเกหิ
ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ.
กาโย อาทิตโต.
โผฏฐัพพา อาทิตตา.
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง.
กายะสัมผัสโส อาทิตโต.
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัมปิ อาทิตตัง. เกนะ อาทิตตัง.
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา
ชะรามะระเณนะ โสเกหิ
ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ.
มะโน อาทิตโต.
ธัมมา อาทิตตา.
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง.
มะโนสัมผัสโส อาทิตโต.
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัมปิ อาทิตตัง. เกนะ อาทิตตัง.
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา
ชะรามะระเณนะ โสเกหิ
ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ.
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว
สุต๎วา อะริยะสาวะโก
จักขุส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
รูเปสุปิ นิพพินทะติ.
จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ.
จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ.
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ
ปัจจะยา อุปปัชชะติ
เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา
อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
โสตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
สัทเทสุปิ นิพพินทะติ.
โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ.
โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ.
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
ฆานัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
คันเธสุปิ นิพพินทะติ.
ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ.
ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ.
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
ชิวหายะปิ นิพพินทะติ.
ระเสสุปิ นิพพินทะติ.
ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ.
ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ.
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
กายัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ.
กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ.
กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ.
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง
สุขัง วา ทุกขัง วา
อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
มะนัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ.
มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ.
มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ.
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา
ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ.
นิพพินทัง วิรัชชะติ.
วิราคา วิมุจจะติ.
วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ
ญาณัง โหติ ขีณา ชาติ,
วุสิตัง พ๎รัห๎มะจะริยัง,
กะตัง กะระณียัง,
นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ.
อิทะมะโวจะ ภะคะวา.
อัตตะมะนา เต ภิกขู
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง.
อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง
ภัญญะมาเน ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ
อะนุปาทายะ อาสะเวหิ
จิตตานิ วิมุจจิงสูติ.
คำแปล บทสวดอาทิตตปริยายสูตร
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ จาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็นปุราณชฎิล. ได้ยินว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๑๐๐๐ รูป. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.
โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน …
ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน …
ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน …
กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน …
มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย …
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย …
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย …
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย …
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้น แล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี.
ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. อาทิตตปริยายสูตร จบ
ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓-๒๕ ข้อที่ ๓๑
พระไตรปิฎก ภาษาไทย เล่มที่ ๔ (วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑)ข้อ ๕๕ หน้า ๔๙ –
พระไตรปิฎก ภาษาไทย เล่มที่ ๑๘ (สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค)ข้อ ๓๑ หน้า ๑๘
ประยุกต์ใช้ : มนุษย์เรามีช่องทางในการติดต่อกับโลกภายนอกอยู่ ๖ ช่องทาง เรียกว่า อายตนะ ๖ คือ ตาเห็นรูป, หูฟังเสียง, จมูกดมกลิ่น, ลิ้นลิ้มรส, กายถูกต้องสัมผัส, จิตคิดเรื่องราวต่างๆเมื่อตาเห็นรูปเป็นต้น ย่อมเกิดความรู้สึกขึ้นเรียกว่า เวทนา ถ้าเห็นรูปที่ชอบใจก็จะรู้สึกเป็นสุข พอใจ อยากมีสุขอย่างนั้นนานๆ ถ้าเห็นรูปที่ไม่ชอบใจก็จะรู้สึกขัดเคืองเป็นทุกข์ อยากจะหลีกให้ไกล หรืออยากทำลายเสีย ถ้าเห็นรูปที่ไม่ชอบไม่ชัง จิตก็จะรู้สึกลังเลตกลงใจไม่ได้ว่าจะชอบหรือชัง เมื่อประสบกับสิ่งที่ชอบใจก็จะถูกไฟคือโลภะ ความโลภเผาผลาญใจ อยากได้ อยากมี อยากครอบครอง เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจก็จะถูกไฟคือโทสะ ความโกรธ ความชิงชังเผาผลาญใจ ให้อยากทำร้ายทำลายเสีย เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบไม่ชังก็จะถูกไฟคือโมหะ ความหลง ความลังเล เผาผลาญใจ ให้เกิดความสับสนเอาแน่ไม่ได้ ทางที่จะทำให้ใจเราไม่เกิดความเร่าร้อน อยู่ปกติสุข คือ เมื่อตาเห็นรูป เป็นต้น ต้องมีสติเตือนตน ในทันทีว่า เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน ได้กลิ่นสักว่าได้กลิ่น…ไม่ให้เกิดความคิดชอบ ชัง หรือลังเล
รวบรวมเรียบเรียงโดย
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์
น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย)
บรรณาธิการแห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
หนังสือที่มีบทสวดมนต์อาทิตตปริยายสูตร