บททำวัตรเช้า
ใจความสำคัญ : แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ว่าด้วยการสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม และคุณของพระสงฆ์ เพื่อปลูกศรัทธาความเลื่อมใสให้บังเกิดขึ้นในจิตใจของผู้สวด ส่วนที่ ๒ ว่าด้วยรตนัตตยัปปณามคาถา (คำแสดงความนอบน้อมพระรัตนตรัย) และ สังเวคปริกิตตนปาฐะ (บทสวดที่กำหนดรู้ความจริงเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ในความจริงของทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า)
ประวัติ : การทำวัตรเช้านี้ ไม่มีในครั้งพุทธกาล เพิ่งเกิดมีขึ้นในประเทศเรานี้เป็นครั้งแรก โดยยึดถือธรรมเนียมที่พระสงฆ์สมัยพุทธกาลเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรมเป็นประจำทุกวันเป็นแนวทางปฏิบัติ การทำวัตรเช้าจึงเปรียบเสมือนการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกเช้า
(เมื่อหัวหน้าจุดเทียน ธูป พึงนั่งคุกเข่าประนมมือพร้อมกัน หัวหน้านำให้ว่าตามทีละตอน)
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง
อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต
ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง
ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.
(รับ) โย โส ตะถาคะโต
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา,
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง
สะพ๎รัห๎มะกัง สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิงปะชัง
สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา
สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ,
โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัล๎ยาณัง
มัชเฌกัล๎ยาณัง ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง,
สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง
ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ. (กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.
(รับ) โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก,
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ. (กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.
(รับ) โย โส สุปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลิกะระณีโย, อะนุตตะรัง
ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, ตะมะหัง สังฆัง
อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.
(กราบแล้วนั่งพับเพียบ)
(นำ) หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะ
ปาฐัญจะ ภะณามะ เส.
(รับ) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
สังโฆ สุเขตตาภ๎ยะติเขตตะสัญญิโต
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง
วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา
มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต, มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ, ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง, โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา. เสยยะถีทัง. รูปูปาทานักขันโธ, เวทะนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ, วิญญาณูปาทานักขันโธ, เยสัง ปะริญญายะ, ธะระมาโน โส ภะคะวา, เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ, รูปัง อะนิจจัง, เวทะนา อะนิจจา, สัญญา อะนิจจา, สังขารา อะนิจจา,
วิญญาณัง อะนิจจัง, รูปัง อะนัตตา, เวทะนา อะนัตตา, สัญญา อะนัตตา, สังขารา อะนัตตา, วิญญาณัง อะนัตตา, สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, เต มะยัง (หญิงว่า ตา มะยัง) โอติณณาม๎หะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ, โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา, อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ,
(สำหรับพระภิกษุสามเณรว่า) จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง, สัทธา อะคารัส๎มา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา, ตัส๎มิง ภะคะวะติ พ๎รัห๎มะจะริยัง จะรามะ, ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา (สามเณรงดคำที่ขีดเส้นใต้) ตัง โน พ๎รัห๎มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติ.
(สำหรับคฤหัสถ์ว่า) จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ, สา สา โน ปะฏิปัตติ อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติ.
ที่มา : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ประยุกต์ใช้ : ชาวพุทธพึงตระหนักให้ชัดว่า เป้าหมายสูงสุดของการนับถือพระพุทธศาสนาก็คือการนำตนให้พ้นจากทุกข์ในทุกระดับ ในบทสังเวคปริกิตตนปาฐะกล่าวถึงหลักการ หรือข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์ไว้อย่างแจ่มชัด ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมด ทุกข์เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ การพิจารณาให้เห็นความจริงของขันธ์ ๕ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือหนทางแห่งความดับทุกข์ ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายได้มีสติกำหนดรู้เห็นความจริงของขันธ์ทั้ง ๕ เพื่อถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นเสีย