บทนิพเพธิกสูตร*
* พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๓๓๔ หน้าที่ ๔๖๔
บทสวดที่จะให้คำตอบเกี่ยวกับกรรม ๖ ประการ คือ ๑. กรรมคืออะไร ๒. กรรมเกิดได้อย่างไร ๓. กรรมมีความแตกต่างกันอย่างไร ๔. การให้ผลของกรรมเป็นอย่างไร ๕. ความสิ้นกรรมเป็นอย่างไร ๖. ทำอย่างไรจึงจะถึงความสิ้นกรรม
กัมมัง ภิกขะเว เวทิตัพพัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมานัง นิทานะสัมภะโว เวทิตัพโพ,
เหตุเกิดแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมานัง เวมัตตะตา เวทิตัพพา,
ความต่างแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมานัง วิปาโก เวทิตัพโพ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมะนิโรโธ เวทิตัพโพ,
ความดับแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา เวทิตัพพาติ,
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
อิติ โข ปะเนตัง วุตตัง, ก็ คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น ;
กิญเจตัง ปะฏิจจะ วุตตัง. เราอาศัยอะไรกล่าว ฯ
เจตะนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวซึ่งเจตนาคือความจงใจ
ว่าเป็นกรรม ;
เจตะยิต๎วา กัมมัง กะโรติ กาเยนะ วาจายะ มะนะสา.
เพราะบุคคลเจตนาแล้ว จึงทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ ฯ
กะตะโม จะ ภิกขะเว กัมมานัง นิทานะสัมภะโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นอย่างไรเล่า ?
ผัสโส ภิกขะเว กัมมานัง นิทานะสัมภะโว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ฯ
กะตะมา จะ ภิกขะเว กัมมานัง เวมัตตะตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
อัตถิ ภิกขะเว กัมมัง นิระยะเวทะนิยัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ทำให้เสวยเวทนาในนรก ก็มี ;
อัตถิ กัมมัง ติรัจฉานะโยนิเวทะนิยัง,
กรรมที่ทำให้เสวยเวทนาในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ก็มี ;
อัตถิ กัมมัง ปิตติวิสะยะเวทะนิยัง,
กรรมที่ทำให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย ก็มี ;
อัตถิ กัมมัง มะนุสสะโลกะเวทะนิยัง,
กรรมที่ทำให้เสวยเวทนาในโลกมนุษย์ ก็มี ;
อัตถิ กัมมัง เทวะโลกะเวทะนิยัง,
กรรมที่ทำให้เสวยเวทนาในเทวโลก ก็มี ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว กัมมานัง เวมัตตะตา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความต่างแห่งกรรม ฯ
กะตะโม จะ ภิกขะเว กัมมานัง วิปาโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ วิบากคือการให้ผลของกรรม
เป็นอย่างไรเล่า ?
ติวิธาหัง ภิกขะเว กัมมานัง วิปากัง วะทามิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิบากคือการให้ผลของกรรม
มี ๓ อย่าง คือ :-
ทิฏเฐวะ ธัมเม, กรรมให้ผลในทันที ๑ ;
อุปปัชเช วา, กรรมให้ผลในลำดับถัดไป ๑ ;
อะปะเร วา ปะริยาเย, กรรมให้ผลในลำดับถัดไปอีก ๑ ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว กัมมานัง วิปาโก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิบากของกรรม ฯ
กะตะโม จะ ภิกขะเว กัมมะนิโรโธ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งกรรมเป็นอย่างไรเล่า ?
ผัสสะนิโรธา ภิกขะเว กัมมะนิโรโธ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งกรรม ย่อมมี,
เพราะความดับแห่งผัสสะ ฯ
(กะตะมา จะ ภิกขะเว กัมมะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นอย่างไรเล่า ?)
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
กัมมะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา,
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งกรรม ;
เสยยะถีทัง, กล่าวคือ :-
สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ ;
สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ ;
สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ ;
สัมมากัมมันโต, การกระทำชอบ ;
สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ ;
สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ ;
สัมมาสะมาธิ. ความตั้งใจมั่นชอบ ฯ
ยะโต จะ โข ภิกขะเว อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวก ;
เอวัง กัมมัง ปะชานาติ,
ย่อมรู้ชัด ซึ่งกรรม อย่างนี้ ;
เอวัง กัมมานัง นิทานะสัมภะวัง ปะชานาติ,
ย่อมรู้ชัด ซึ่งเหตุเกิดแห่งกรรม อย่างนี้ ;
เอวัง กัมมานัง เวมัตตะตัง ปะชานาติ,
ย่อมรู้ชัด ซึ่งความต่างแห่งกรรม อย่างนี้ ;
เอวัง กัมมานัง วิปากัง ปะชานาติ,
ย่อมรู้ชัด ซึ่งวิบากแห่งกรรม อย่างนี้ ;
เอวัง กัมมะนิโรธัง ปะชานาติ,
ย่อมรู้ชัด ซึ่งความดับแห่งกรรม อย่างนี้ ;
เอวัง กัมมะนิโรธะคามินีปะฏิปะทัง ปะชานาติ,
ย่อมรู้ชัด ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม อย่างนี้ ;
โส อิมัง นิพเพธิกัง พîรัหîมะจะริยัง ปะชานาติ
กัมมะนิโรธัง.
เมื่อนั้น เธอย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ อันเป็นเหตุชำแรก
กิเลส เป็นที่ดับไปแห่งกรรม ฯ
กัมมัง ภิกขะเว เวทิตัพพัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมานัง นิทานะสัมภะโว เวทิตัพโพ,
เหตุเกิดแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมานัง เวมัตตะตา เวทิตัพพา,
ความต่างแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมานัง วิปาโก เวทิตัพโพ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมะนิโรโธ เวทิตัพโพ,
ความดับแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
กัมมะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา เวทิตัพพาติ,
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้ ;
อิติ ยันตัง วุตตัง, คำใด ที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น ;
อิทะเมตัง ปะฏิจจะ วุตตัง.
คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยความข้อนี้ ฯ
คำแผ่เมตตาให้ตนเอง
สำรวมจิตไว้ที่ลิ้นปี่ เมื่อสงบดีแล้วจึงกล่าวคำแผ่เมตตา
อะหัง สุขิโต โหมิ,
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ;
นิททุกโข โหมิ,
ปราศจากความทุกข์ ;
อะเวโร โหมิ, ปราศจากเวร ;
อัพ๎ยาปัชโฌ โหมิ,
ปราศจากอุปสรรคอันตราย
และความเบียดเบียนทั้งปวง ;
อะนีโฆ โหมิ,
ปราศจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ;
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ.
มีความสุขกายสุขใจ ;
รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
คำแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สำรวมจิตไว้ที่หน้าผาก เมื่อสงบดีแล้วจึงกล่าวคำแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา,
สัตว์ทั้งหลาย, ที่เป็นเพื่อนทุกข์,
เกิด แก่ เจ็บ ตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ;
อะเวรา โหนตุ,
จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด,
อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย ;
อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ,
จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด,
อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ;
อะนีฆา โหนตุ,
จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด,
อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย ;
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.
จงมีความสุขกายสุขใจ,
รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
คำแผ่ส่วนบุญขออโหสิกรรม
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญ มาดีแล้ว ในอดีตก็ดี ในวันนี้ก็ดี ข้าพเจ้า ขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินมาแล้ว ในชาติก่อนก็ดี ในชาตินี้ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงได้อนุโมทนา รับเอา ส่วนบุญส่วนกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ เมื่ออนุโมทนารับแล้ว ขอได้โปรดอโหสิกรรม ในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินแล้วนั้น แก่ข้าพเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้า ขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลนี้ ให้แก่บิดามารดา ครูอาจารย์ ญาติสนิทมิตรสหาย ผู้มีพระคุณทุกระดับ คนเคยร่วมกิจการงาน ทั้งหลาย ท่านที่มีทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านที่มีสุข ขอให้มีสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยกันทุกคนทุกท่าน ข้าพเจ้า ขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทวดาทั้งหลาย ที่รักษาตัวข้าพเจ้าอยู่ก็ดี นอกจากนี้ก็ดี ทั่วสามพิภพ จงมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระภูมิเจ้าที่ เทวาอารักษ์ที่ปกปักรักษาประเทศชาติบ้านเมือง ตลอดถึงเทพ พรหม ยม ยักษ์ ภูตผีปีศาจทั้งหลาย ขอให้ทุกท่าน จงเป็น ผู้มีส่วนได้ในบุญกุศลของข้าพเจ้า และจงเป็นผู้มีสุขทุกเมื่อ ขอผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า ครอบครัว ตลอดถึงบุคคลผู้เป็นที่รัก ญาติสนิทมิตรสหาย จงอยู่ดีกินดี มีสุข จำเริญยิ่งๆ ขึ้นไป และเข้าถึงพระนิพพานในเร็ววันด้วยเทอญ.
คำกรวดน้ำแบบย่อ
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย.
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลาย ของข้าพเจ้า จงเป็นสุขๆ เถิด ฯ
จากหนังสือ ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม โดยสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม