ธชัคคสูตร (ย่อ) (ตำนานที่ 7)

ธชัคคสูตร (ย่อ)

บทถวายพรพระ

บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (อิสวาสุ)

ถวายพรพระ มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ ๑) การสวดพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าเพื่อถวายสดุดีแด่พระองค์ ๒) สวดถวายพระพรแด่พระมหากษัตริย์ให้มีชัยชนะเหนืออริราชศัตรู จากคำบอกเล่าของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) กล่าวว่า สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แต่งขึ้นเพื่อสวดถวายพระพรชัยแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประกอบด้วย บทสรรเสริญพระรัตนตรัย (อิติปิโส), บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง), บทชยปริตร (มหาการุณิโก) และบทสัพพมงคลคาถา (ภะวะตุสัพ)

ใจความสำคัญ : เป็นบทสวดสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ คุณของพระธรรม ๖ ประการ และคุณของพระสงฆ์ ๙ ประการ
อานุภาพ : ถือเป็นที่สุดของพุทธมนต์ทั้งหมด มีการนำไปดัดแปลงเป็นมนต์คาถาและลงอักขระในยันต์ต่างๆ มากมาย มีอานุภาพ ๑๐๘ ประการ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ.

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.


ประวัติ : สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงตรัสเล่าถึงท้าว
สักกเทวราชประกาศให้เหล่าเทพมองดูยอดธงบนราชรถของพระองค์ เพื่อปลุกปลอบใจเหล่าทหารเทพที่เกิดความหวาดหวั่นให้เกิดความฮึกเหิม ในการทำสงครามระหว่างเทพและอสูร แล้วตรัสแก่ภิกษุว่า หากว่าเธอทั้งหลายไปปฏิบัติธรรมในที่หลีกเร้นแล้วเกิดความหวาดหวั่น ก็พึงให้ระลึกพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ที่เป็นดุจยอดธงแห่งศาสนาเถิด ความหวาดกลัวทั้งหลายจักหายไป
ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๒๒ ข้อที่ ๘๖๕
ประยุกต์ใช้ : หากไม่สวดเต็มทั้งบท จะบริกรรม ๓ คำว่า อิส๎วาสุ ซึ่งเป็นคำขึ้นต้นของแต่ละวรรคแทนก็ได้ หรือจะใช้คำว่า พุทโธ ๆๆ ธัมโม ๆๆ สังโฆๆๆ แทนก็ได้

SHOPPING CART

close